ม้าลาย







ม้าลายเป็นม้าจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าม้า แต่มีปลายหางคล้ายลา มีแผงคอที่สั้นเหมือนขนแปรง มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเป็นสีดำลายขาวตลอดทั้งตัว ซึ่งสีอันโดดเด่นนี้ เป็นคำถามมาเป็นระยะเวลานานแล้วว่า แท้ที่จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน ภาพแสดงลายบนใบหน้าของม้าลาย 4 ตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งลายเหล่านี้จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่เหมือนกันอันเป็นผลมาจากเซลล์เม็ดสีและพันธุกรรม [1] สิ่งที่เหมือนกับม้าป่าชนิดอื่นคือ ม้าป่ามีส่วนลำตัวคล้ายถังเบียร์ ส่วนใบหน้าที่ยื่นยาว หางยาว คอยาว และแผงคอยาว ขายาวเรียว กีบเท้า กีบเท้ารูปร่างคล้ายจอบขุดดิน ลักษณะฟันวิวัฒนาการเพื่อกินหญ้า ฟันหน้ามีขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการจับหญ้า ฟันกรามมีลักษณณะสันที่ยาวคมเพื่อใช้ในการบดตัดหญ้า ม้าลายเพศผู้มีฟันเขี้ยวเพื่อใช้ในการต่อสู้กับม้าลายตัวอื่น ม้าลายเป็นสัตว์ที่มีสายตาดี โดยตำแหน่งตาอยู่ด้านข้างของกะโหลกและค่อนไปทางด้านบน เพื่อให้พ้นตำแหน่งจากต้นหญ้าสูงขณะก้มกินหญ้า รวมทั้งใบหูยาวที่สามารถขยับส่วนปลายหูเพื่อหาตำแหน่งของเสียง จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ม้าลายแท้ที่จริงเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว ซึ่งลายแถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังส่วนหนึ่ง จะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่า เมลาโนไซท์ หลังจากนั้น เมลาโนไซท์เหล่านี้ จะเคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ ซึ่งรูปแบบของเม็ดสีในสัตว์แต่ละชนิดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางพันธุกรรม ในการเปลี่ยนสภาพ และการเคลื่อนที่ของเมลาโนไซท์ โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่ จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งม้าลายแต่ละตัวก็จะมีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการที่ม้าลายมีลายแถบสีขาวเหล่านี้ เชื่อว่าใช้ในการพรางตัวจากศัตรู และทำให้ศัตรูซึ่งได้แก่ สัตว์กินเนื้อต่าง ๆ ตาลายได้เมื่อได้พบเจอม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้าง ทำให้จับระยะทางที่จะโจมตีผิดพลาดไป สำหรับทัศนะของชาร์ลส์ ดาร์วิน เชื่อว่าม้าลายมีลายเพื่อจดจำกันได้ และตัวผู้ใช้เกี้ยวพาตัวเมีย รวมทั้งเชื่อว่ามีไว้ป้องกันแมลง โดยเฉพาะแมลงวัน มีหลักฐานว่าม้าลายดึงดูดแมลงน้อยกว่าสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ ในแอฟริกา จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีกลุ่มหนึ่ง ที่ทดลองโดยการนำหุ่นของม้า 4 ตัว ที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างกันไป ไปตั้งไว้ในทุ่งหญ้า รวมถึงม้าลาย พบกว่าหุ่นม้าลายมีแมลงมาเกาะน้อยที่สุด ทั้งนี้เชื่อว่าเพราะตาของแมลงเป็นระบบตารวมที่มีส่วนประกอบมากมาย และแมลงจะลงเกาะโดยการใช้แสงโพลาไรซ์ช่วย เป็นไปได้ว่าลายทางของม้าลายไปรบกวนแสงโพลาไรซ์ในการมองของแมลง ทำให้ยากในการลงเกาะบนตัวของม้าลาย[2]










ข้อมูลเพิ่มเติม
ไปข้างหน้า