1. การทำเฟรม (Frame Set) ไฟล์ index.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2. การสร้างไฟล์ top.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน้าแรก
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทที่ 5
ภาคผนวก
ผู้จัดทำ
3. ไฟล์ main.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
   กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเป็นขั้นนตอนที่นำมาใช้ในดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการซึ่งกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม จะเริ่มโดยการระบุปัญหาที่พบแล้วกำหนดเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข จากนั้นจึงค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไข เมื่อได้วิธีการที่เหมาะสมแล้วจึงทำการวางแผนและพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการเมื่อได้สร้างขึ้นงานหรือวิธีการเรียบร้อยแล้วจึงนำไปทดสอบถ้ามีข้อบกพร่อง ให้ทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการนั้นสามารถใช้แก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการได้ และในตอนท้ายจะประเมินผลว่าสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการนั้นสามารถใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
1. ขั้นระบุปัญหา (Problem Identification)
   ขั้นนี้เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบเหตุทั้งหลาย ของปัญหาแล้วจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเลือกสาเหตุที่สำคัญที่สุดเป็นประเด็นสำหรับค้นหาวิธีแก้ไขต่อไป เป็นการตัดสินว่าสถานการณ์ที่ต้องแก้ไขนั้นปัญหาใดเป็น “ปัญหาที่แท้จริง” ที่มีผลกระทบสูง หากไม่รีบแก้ไข พร้อมกับวางเป้าหมายในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจะใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา เช่น เทคนิคแผนผังก้างปลา (fish bone diagram) เทคนิค 5W1H เป็นต้น
   Who เป็นการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับบุคคลปัญหาหรือความต้องการ
   What เป็นการตั้งคำถามว่าอะไรคือปัญหาหรือความต้องการจากสถานการณ์นั้น ๆ
   When เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือความต้องการของสถานการณ์นั้นว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
   Where เป็นการตั้งคำถามปัญหาหรือความต้องการของสถานการณ์นั้นว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน
    Why เป็นการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์สาเหตุว่าทำไมถึงเกิดปัญหาหรือความต้องการ
    How เป็นการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหานั้นว่าจะสามารถทำได้ด้วยวิธีการอย่างไร

2. ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)
   เป็นการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการแก้ปัญหาและประเมินความเป็นไปได้ ข้อดีและข้อจำกัด

3. ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)
   เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงทรัพยากร ข้อจำกัดและเงื่อนไขตามสถานการณ์ที่กำหนด

4. ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
   เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)
   เป็นการทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงานหรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

6. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation)
   เป็นการนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างชิ้นงานหรือการพัฒนาวิธีการ ให้ผู้อื่นเข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป

   จากที่กล่าวมาข้างต้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอน เป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้โดยผู้สอนสามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยนำกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมขั้นที่ 1 ระบุปัญหามาเป็นส่วนของขั้นนำของการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นการกำหนดสถานการณ์ปัญหาให้ผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทำการวิเคราะห์เพื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากสถานการณ์นั้น สำหรับขั้นที่ 2 ถึงขั้นที่ 6 ของกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสามารถจัดอยู่ในส่วนของขั้นพัฒนาผู้เรียน ส่วนขั้นสรุปของการเรียนเป็นการสรุปร่วมกันถึงองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์

4. ไฟล์ ขั้นที่ 1 step1.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
   เป็นการทำความเข้าใจปัญหาหรือความท้าทาย วิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสถานการณ์ปัญหา เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา เป็นการทำความเข้าใจปัญหาหรือความท้าทาย วิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสถานการณ์ปัญหา เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการในการแก้ปัญหา
   ซึ่งสามารถใช้ทักษะการตั้งคำถามด้วยหลัก 5W 1H เมื่อเกิดสถานการณ์ปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งคำถามจากหลัก 5W1H
5. ไฟล์ ขั้นที่ 2 step2.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
   ในขั้นตอนนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการ และแนวทางการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการตามที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 1 เพื่อหาวิธีการที่หลากหลายสำหรับใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยการค้นหาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น สอบถามจากผู้รู้ สืบค้นหรือสำรวจจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งการค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้จะเป็นการศึกษาองค์รู้จากทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และสรุปเป็นสารสนเทศและวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอาจมีได้มากกว่า 1 วิธี จากนั้นจึงพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสม และสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการ ในประเด็นต่างๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องและการนาไปใช้ได้จริงของวิธีการแต่ละวิธี
   ดังนั้น วิธีการที่จะถูกพิจารณาคัดเลือกจะอยู่ภายใต้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
6. ไฟล์ ขั้นที่ 3 step3.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
    เป็นขั้นตอนของการออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการโดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมในขั้นที่ 2 ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยสื่อสารแนวคิดของการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจโดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การร่างภาพ การอธิบาย เป็นต้น
7. ไฟล์ ขั้นที่ 4 step4.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
    เป็นขั้นตอนของการวางลำดับขั้นตอนของการสร้างช้นงานหรือวิธีการ จากนั้นจึงลงมือสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อที่จะนาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการขั้นตอนต่อไป
8. ไฟล์ ขั้นที่ 5 step5.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
   เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบและประเมินชิ้นงานวิธีการที่สร้างขึ้นว่า สามารถทางานหรือใช้ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร และควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจาลองวิธีการใน ส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดาเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้นจนได้ ชิ้นงานวิธีการที่สอดคล้องตามรูปแบบที่ออกแบบไว้
9. ไฟล์ ภาคผนวก appendex.html html> กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
   เป็นอธิบาย และภาพประกอบการทำงานตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 6

    เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
เว็บไซต์โรงเรียนบัวขาว || เว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์โรงเรียนบัวขาว || เว็บไซต์แสดงผลงานนักเรียน || เว็บไซต์กลุ่มบริหารงานวิชาการ
เว็บไซต์งานวิชาการและกิจการนักเรียน || เว็บไซต์ YouTube || เว็บไซต์ Google || เว็บไซต์ Facebook
เว็บไซต์กระทรวงมหาดไทย || เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ || เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น || เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

10. ไฟล์ผู้จัดทำ produce.html กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
ลำดับที่ ชื่อ - สกุล รูปภาพ ข้อมูล
1.
เด็กชายแดง หางกิ้น หัวหน้ากลุ่มมะลองกองแกง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษปีที่ 2/20
เลขที่ 21
อีเมล์ buakhao2501@gmail.com
2.
เด็กหญิงสุดสวย ใจงาม รองหัวหน้ากลุ่มมะลองกองแกง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษปีที่ 2/20
เลขที่ 15
อีเมล์ buakhao@gmail.com
3.
เด็กชายตั้งมั่น เรียนดี สมาชิกกลุ่มมะลองกองแกง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษปีที่ 2/20
เลขที่ 18
อีเมล์ buakha@gmail.com
4.
เด็กหญิงงามตา งามใจ เลขากลุ่มมะลองกองแกง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษปีที่ 2/20
เลขที่ 30
อีเมล์ buakhao2501@gmail.com